วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 6

วันที่  6 ธันวาคม 2555

กิจกรรมการเรียนการสอน
  - นำกล่องที่เตรียมมาวิเคราะห์เกี่ยวกับ ขอบข่ายคณิตศาสตร์

กล่องสี่เหลี่ยมเหมือนกัน แต่ขนาดต่างกัน

*นำของเหลือใช้มาสอนเด็กได้*

วิธีการให้เด็กเกิดการรับรู้

   1. เรียนรู้ผ่านการเล่น (มีอิสระในการตัดสินใจ) -> โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ลงมือกระะทำกับวัตถุ

   2. ครูจัดประสบการณ์ -> เด็กเล่นตามที่ครูวางแผนไว้

การจักกิจกรรมให้เหมือนกันฝาชี  = ครอบคลุมให้เด็กได้พัฒนาจากเดิม

การจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับขอบข่ายคณิตศาสตร์

หน่วย  =   กล่อง  (ขนาด,รูปทรง)
1.   นับ
2.   กำกับตัวเลข
3.   จับคู่ = ขนาดเท่ากัน(ใช้เชือกวัด หรือนิ้ว) // วัดหาค่า
4.   เปรียบเทียบ
5.   เรียงลำดับ
6.   นำเสนอข้อมูล - > เปรียบเทียบโดยจับคู่ 1 : 1  // ให้เห็นแผ่นภาพ นำเสนอเป็นกราฟ
    Ex 

7.   จัดประเภท =  "กล่องที่ใส่ของใช้ และไม่ใส่ของใช้" หรือ "กล่องที่ใส่ของกินได้ และกินไม่ได้"
                                         * ตั้งเกณฑ์ 1 เกณฑ์ *
8.   พื้นที่ = ดินน้ำมันใส่ในกล่อง โดยดินนำมันต้องมีขนาดเท่ากัน
    Ex

ครูต้องเตรียมดินน้ำมันที่เท่ากัน -> แทนค่า -> กำกับตัวเลข -> เปรียบเทียบ -> นำเสนอ -> เรียงลำดับ

9.   ตามแบบ = อนุกรม เช่น.. ดาร์ลี่ ลูกพรุน ดาร์ลี่ ลูกพรุน
10. เศษส่วน =
                     *ทั้งหมด* กี่กล่อง -> นับจำนวน -> จัดประเภทที่ใส่ของกิน -> มี .... ของทั้งหมด
    คำว่า "ครึ่ง" = แบ่งกล่องครึ่งหนึงใช้ทำงานศิลปะ โดย .. จับ 1 : 1 หรือ จับ 2 : 2
11. อนุรักษ์ = เปลี่ยนตำแหน่ง แต้ต้องมีขนาดเท่ากัน




ให้นักศึกษาจับกลุ่ม กลุ่มละ 10 คน



กลุ่มของฉันได้ หัวข้อ "การวางแผน"
หนอนน้อยเจ้าสำราญ

  




การประเมิน
          กระบวนการคิด -> พัฒนาการ

จากกิจกรรมได้ความรู้เรื่องคณิตศาสตร์ คือ พื้นที่, จำนวน, ตำแหน่ง, ขนาด, ทิศทาง และการเรียงลำดับ




วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 5

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2555


กิจกรรมการเรียนการสอน

 เนื้อหาสาระในหนังสือ  คู่มือกรอบมาตรฐาน การเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย มีอะไรบ้าง ?


มาตรฐานการเีีรียนรู้ = เกณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับได้
.
 เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์บ้าง ?
     


     ให้นักศึกษา จับคู่ (เดิม) แล้วมารายงาน ขอบข่ายคณิตศาสตร์   ที่จะนำมาจัดกิจกรรมให้เด็กใน
 หน่วย  สัตว์   หน้าชั้นเรียน  ทุกกลุ่ม !!

      ** อาจารย์พูดถึงการจดบันทึก ว่าต้องมี สมุดจด  เพราะจะได้ดูงานที่ทำไปแล้วได้จากสมุดจดไม่ใช้รอแต่งานที่ส่งอาจารย์ไปแล้ว ...

หน่วย  สัตว์

1. การนับ = นับสัตว์ในสวนสัตว์
2. ตัวเลข  = เป็นตัวกำกับตัวเลขจากมาไปหาน้อย  ( ตัวเลข  -> แทนค่าจำนวน )
3. จับคู่     = ตัวเลขกับตัวเลข และรูปทรง
4. จัดประเภท = แยกประเภทของสัตว์ คือ สัตว์บก และ  สัตว์น้ำ
5. การเปรียบเทียบ =  สัตว์บก กับสัตว์น้ำ สัตว์ชนิดใดมากกว่า หรือน้อยกว่ากัน
6. การจัดลำดับ =  หาค่า, จับคู่ 1 : 1(ถ้าเด็กยังไม่มีประสบการณ์ด้านตัวเลขากพอ) ,นำมาเรียงลำดับ
7. รูปทรง และพื้นที่ = ไม่จำเป็นต้องจัด "ลำตัว" ของสัตว์ เสมอไป สามารถจัดเป็น ขนาดของกรงสัตว์ หรือ กำหนดรูปทรงแล้วถามว่า ... รูปทรงขนาดนี้สัตว์จะอยู่ในกรงได้ประมาณกี่ตัว ?
8. การวัด = วัดอาหารที่สัตรว์กินในแต่ละวัน,วัดพื้นที่ที่สัตว์อยู๋
9. เซต = การจัดตู้ปลา อุปกรณ์มีอะไรบ้าง ?
10. เศษส่วน = (สอนพื้นฐานให้กับเด็ก) การแบ่งนกในกรงในจำนวนที่เท่ากัน >> เน้นให้เด็กแบ่งครึ่ง ...
11. การทำตวามแบบ = สร้างแบบ และทำตวามแบบ
12. การอนุรักษ์ = ดินน้ำมัน (รูปร่างเปลี่ยนแปลงไป แต่ปริมาณเท่าเดิม) ,ทราย (เอาทรายใส่ขวดแล้วเอาแม่พิมพ์มาทำให้รูปร่างต่างกัน)
     



สมาชิก (เซต)

น.ส. สุภาภรณ์  ชุ่มชื่น  เลขที่ 12
น.ส. ศิวิมล มณีศรี เลขที่ 24

หน่วย ผัก

1. การนับ = นับผักในตะกร้า
2. ตัวเลข = เรียงผักที่นับออกจากตะกร้า (ลำดับที่ 1,2,3,... ตามลำดับ)
3. จับคู๋ = จำนวนผัก กับเลขฮินดูอารบิก
4. จัดประเภท = แผกผักใบเขียว
5. การเปรียบเทียบ = จากขนาด ,รูปทรง ,จำนวน
6.  การจัดลำดับ = วัดผัก โดยการเปรียบเทียบ 1 : 1
7. รูปทรงและพื้นที่ = ตะกร้าสี่เหลี่ยม  ใส่แครอทได้กี่หัว?

*ย้ำ* ต้องกำหนดสิ่งที่จะสอนเด็กเพียงแค่ 1 เรื่อง
 เพราะเด็กไม่สามารถรับรู้  หลายๆเรื่อง  ในครั้งเดียวได้

** ท้ายคาบอาจารย์ให้เขียน "ความรู้สึกในวันนี้" ** 

หมายเหตุ
   - อาทิตย์หน้าให้นำกล่องมา คนละ 1 กล่อง
   - การเรียนในวันนี้ทำให้คิดอะไรได้หลายๆอย่าง..



วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 4

วันที่  22  พฤศจิกายน  2555

กิจกรรมการเรียนการสอน

การแบ่งกลุ่ม 











** อาจารย์ ให้ กระดาษ A4 มา 1 แผ่น แล้วให้แบ่งเป็นสี่ส่วน จากนั้นให้นักศึกษาวาดรูปที่บอกถึงสัญลักษณ์ประจำตัวของเรา  และให้เขียนชื่อจริงไว้

ให้นักศึกษานำไปแปะบนกระดาน  ตามเกณฑ์การแบ่งกลุ่มข้างต้น

** อาจารย์ถามเกี่ยวกับการจับกลุ่มเพื่อน ของนักศึกษาทั้งหมด ว่าให้เกณฑ์อะไรในการแบ่ง
ตอบ     สนิทกัน เพราะกลับบ้านทางเดียวกัน  และสามารถปรับตัวเข้ากันได้

** อาจารย์ได้แนะนำว่า คนเป็นครูต้องเป็นแบบอย่างให้แก่เด็ก ต้องระมัดระวังในการเรียงลำดับ ทุกครั้งที่มีการเรียงลำดับ ต้องวางเรียงกันใน เลขฐานสิบ  คือ 1-10

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
นิตยา  ประพฤติกิจ.2541:17 - 19

1. การนับ (Counting) = การเพิ่มค่า (+) ,การลดค่า (-), การนับปากเปล่า, มีความหมาย
2. ตัวเลข (Number) = แทรค่าจำนวน, เรียงลำดับ
3. จับคู่ (Matching) = ความเหมือน,  ตัวเลข - จำนวน
4. จัดประเภท (Classification)
5. การเปรียบเทียบ (Compering) = ดูได้ด้วยตาเปล่า
6. การจัดลำดับ (Shape and space)
7. รูปทรงและพื้นที่ (Shape)
8. การวัด (Measurement)
9. เซต (Set) = การจับกลุ่มโดยอาศัยการเชื่อมโยง
10. เศษส่วน (Fraction) = แบ่งให้เท่าๆกัน
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย (Pat tarning) = ตัวเลข, พยัญชนะ ,ตัวอักษร
12. การอนุรักษ์ หรือ การคงที่ด้านปริมาณ (Conservation) เช่น การที่เอาน้ำที่มีปริมาณเท่ากัน แต่นำไปใส่ในแก้วที่ มีลักษณะต่างกัน คือทรงสูง กับทรงเตี้ย

งาน  

        ให้นักศึกษาขจับคู่ 2 คนเขียนกิจกรรมขึ้นมา 1 หน่วย โดยให้นำขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย ทั้ง 12 มาใช้ในการจัดกิจกรรม ส่งในคาบ




วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 3

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2555

กิจกรรมการเรียนการสอน
คณิตศาสตร์

- อาจารย์ให้จับกลุ่ม 3 คนแล้วเอาความรู้ที่ได้จากการค้นคว้ามาตั้งเป็น ความหมายของกลุ่ม ดังนี้ ...

       คณิตศาสตร์ เป็นศาสตร์ของการคิกคำนวน การวัด คือเลขคณิต พีชคณิต ตรีโกณมิติ และ
เรขาคณิต  มีการใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เป็นภาษาสากลอีกด้วย
       คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือที่แสดงความคิดที่เป็นระเบียบ  มีเหตุผล  มีวิธีการ  และหลักการ  เพื่อให้
สามารถนำไปวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้  และเลือกใช้กลวิธีในการศึกษาให้เหมาะสม และ
สามารถนำความรู้เหล่านั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง และประเทศชาติได้

       จุดมุ่งหมาย     เพื่อให้ผู้เรียนรู้คุณค่าของคณิตศาสตร์  สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน            
มุ่งให้เกิดความรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับหลักการของคณิตศาสตร์  ฝึกให้คิดตามลำดับเหตุผล ช่วยให้การ
กำหนดการเรียนการสอนที่ชัดเจนผู้สอนจะต้องวัดพฤติกรรมผู้เรียนได้จากการสังเกตการกระทำที่เห็นได้ 
เช่น การเขียน การพูด การอ่าน การเขียนแผนภูิมิหรือกราฟการบันทึก

       ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์ หรือ วิธีการสอน  เลือกวิธีการสอนให้เหมาะสมกับเนื้อหาสาระ และความสามารถของผู้เรียน  ควรใช้สื่อการสอนที่เป็นรูปธรรม  ผู้สอนควรจะต้องเตรียมการเีรียนการสอน ค้นคว้า เนื้อหาสาระ  ที่จะสอนใฟ้พร้อม 
วิธิการสอนมีดังนี้ ...
        1. วิธีการสอนแบบอภิปราย
        2. วิธีการสอนแบบทดลอง
        3. วิธีการสอนแบบโครงการ
        4. วิธีการสอนแบบสอมถาม

      ขอบข่าย (เนื้อหาของคณิตศาสตร์)
         1. ตรรกศาสตร์
         2.  เซต
         3.  ระบบจำนวนจริง
         4.  ความสัมพันธ์ และฟังก์ชั่น
         5. จำนวน และฐาน
         6. การรวบรวมข้อมูล และนำเสนอข้อมูล
         7. การวัดค่ากลางของข้อมูล
         8. การวัดการกระจายของข้อมูล
         9. ทฤษฎีการติดสินใจ
        10. ทฤษฎีความน่าจะเป็น
        11. วิธีเรียงสับเปลี่ยน  วิธีจัดหมู่ และทฤษฎีบททวินาม

อ้างอิงมาจาก : หนังสือของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 
                               เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ ระดับประถม เล่ม 1

                                                                                                 สมาชิกในกลุ่ม (พฤหัส เช้า)
                                                                                                 น.ส.  รัตติกาล    เด่นดี     เลขที่ 9
                                                                                                 น.ส.  สุภาภรณ์  ชุ่มชื่น    เลขที่ 12
                                                                                                 น.ส.  กรกนก      ชินน้อย  เลขที่ 26


สรุปได้ว่า   ภาษา และคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร ...

วิธีเก็บเด็ก ให้เด็กเข้ากลุ่ม มีหลายวิธี เช่น

   - การตั้งกติกา คือ เมื่อครูตบมือ 1 ครั้ง  เด็กๆก็จะกลับเข้ากลุ่ม
   - โดยการใช้เพลง   .... กลุ่มไหน

                  กลุ่มไหน  กลุ่มไหน       รีบเร็วไว หากลุ่มพลัน
              อย่า... มัวชักช้า                 เวลาจะไม่ทัน
              ระวังจะเดินชนกัน           * เข้ากลุ่มพลันว่องไว (ซ้ำ *)

ที่อาจารย์ร้องเพลงให้ฟังก่อน เพื่อ .... ให้จำเนื้อร้องได้ และรู้จักความหมาย


** อาจารย์แนะนำว่า ทุกครั้งเมื่อมีการไปค้นคว้าจากหนังสือ ให้ใส่อ้างอิงมาด้วยทุกครั้ง**
            

    

วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 2

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2555


.กิจกรรมการเรียนการสอน
คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


วิธีการแบ่งกลุ่มของเด็กสามารถแบ่งได้ตามนี้
-          นับเลข 1 – 2
-          จับฉลาก
-          แยกเพศ
-          ความยาวของเส้นผม (โดยตั้งเกณฑ์การวัด)
-          ตามวันเกิด ( อา – ส ,วันที่ หรือ เดือนเกิด)



เมื่อเรา  "รู้ค่า"  - > จะมีการเขียน "ตัวเลข" (ฮินดูอารบิก) เกิดขึ้น

**  การคำนวณของเด็กในแต่ละช่วงวัยจะมีความแตกต่างกัน **
          
    เพราะฉะนั้นต้องนำพัฒนาการของเด็กเป็นตัวตั้งในการจัดคณิคศาสตร์ให้เป็นพื้นฐานของเด็ก

กิจกรรม  ให้นักศึกษาไปห้องสมุดแล้วหาข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อดังนี้
     1. สำรวจรายชื่อหนังสือคณิตศาสตร์ 
     2. หาความความหมายของคณิตศาสตร์ มา 1 คน ( ชื่อผู้เขียน,หน้า,ชื่อหนังสือ,พ.ศ)
     3. จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์
     4. ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์ หรือ วิธิการสอนคณิตศาสตร์
     5. ขอบข่าย หรือ เนื้อหาของคณิตศาสตร์

***  ส่งสัปดาห์หน้าในคาบ วันที่  15 พฤศจิกายน 2555 ***








วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 1

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2555

กิจกรรมการเรียนการสอน
เข้าเรียนครั้งแรก

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์แจกแจงรายละเอียด  -  เข้าเรียน 09.00 น. พร้อม เซ็นชื่อเข้าเรียน มาช้า 15 นาที ถือว่า  ขาด 



- ทักษะจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ ทำบ่อยๆ   หรือ    ฝึกฝน  (ฟัง,พูด,อ่าน และ เขียน)
- การฝึก การสังเกตภาษาของเด็กได้จาก คำถาม

       อาจารย์แจกกระดาษ A4 ในห้องแล้วให้ตอบคำถาม ดังนี้


     การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ   

              การจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กสามารถนับจำนวน บอกลักษณะรูปเรขาคณิตได้ และให้เด็กสามารถ บวก ลบ ได้ตามวัย

      ความรู้ที่คาดว่าจะได้จากการเรียนวิชานี้ คือ 
              -  ความรู้เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์
              -  วิธีการจักประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย
              -  การทำสื่อที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
              -  การประเมินทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  

การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

แบ่งออกได้ 3 อย่าง คือ การจัดประสบการณ์ / คณิตศาสตร์ / เด็กปฐมวัย อธิบายได้ดังนี้

เด็กปฐมวัย แบ่งเป็น 2 หัวข้อคือ 


    1.) พัฒนาการ (ต้องทำอย่างต่อเนื่อง) 


           -  มีพัฒนาการทั้ง  4 ด้าน  แต่เน้น ด้านสติปัญญา 


               ทฤษฎีเพียเจท์ แบ่งเด็กเป็น 2 ขั้น คือ

                       (1.) ขั้น Sensory Moter    stage  /เด็กแรกเกิด - 2 ปี ->เรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5
                       (2.) ขั้น Preoperational   stage  / 2 - 6 ปี แบ่งเป็น
                                -   2 - 4 ปี   = การรับรู้ผ่านวิธีการเรียนรู้ต่างๆ
                                -   4 - 6 ปี   = มีการส่งให้สมองรับรู้จากเดิมที่มีอยู่

           -  การเปลี่ยนแปลงตามลำดับขั้น

                พฤติกรรมที่พบเห็น เช่น  พลิก  -> คว่ำ  -> คืบ  -> คลาน  -> นั่ง  -> ยืน  -> เดิน  -> วิ่ง
     
   2.) วิธีการเรียนรู้ (รู้เข้ารู้เรา)
         -  ลงมือกระทำกับวัตถุโดยประสาทสัมผัสทั้ง 5
          -  ทำอย่างต่อเนื่อง
          -  ให้อิสระที่จะเลือก
                                                                 สรุปได้ดังนี้







การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (พัฒนาตนเอง, เรียนรู้บริบท และ มีชีวิตรอดในสังคม)


การเรียนรู้มีทั้ง ด้านบวก และด้านลบ    (เช่น การข้ามถนน การขโมย เป็นต้น)


การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากประสบการณ์แล้วมีโอกาสได้ปฏิบัติ


การรับรู้ คือ (การเข้าใจเพียงอย่างเดียว) การได้รับ ประสบการณ์ใหม่ จากสิ่งที่กระทำ


** ความสัมพันธ์ระหว่าง การับรู้กับการเรียนรู้ คือ เมื่อประสบการใหม่สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม ส่งผลให้เกิด "การเรียนรู้" หรือปรับเป็น "องค์ความรู้ใหม่"


หมายเหตุ 

   -  จะมีการทดสอบก่อนเรียนทุกครั้ง
   -  ชี้แจงวัตถุประสงค์ที่จะเรียนในวันนั้น
   -  มีนัดประชุมอาจารย์ที่ปรึกษา วันที่ 21 พฤศจิกายน 2555 เวลา 14.00 น.